Mushroom Travel LINE
เราช่วยคุณได้
@mushroomtour
จันทร์ - เสาร์
9:00-22:00
อาทิตย์
9:00-18:00
Call Mushroom Travel
Call Center
02 105 6234
จอง 6 คนขึ้นไป
จอง 6 คนขึ้นไป
02 105 6244
Loading...

อาหาร ท้องถิ่น อิ่มอร่อย สไตล์โทโฮกุ

โพสเมื่อ

อาหารถือว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในชีวิต…ใช่มั้ยล่ะคะ…?

อย่าพูดว่าไม่จริง…เพราะเราไม่เชื่อ ยิ่งเวลาไปเที่ยวด้วยแล้ว ใครๆก็มองหาแต่ของกินกันทั้งนั้นหล่ะค่ะ เพราะว่า อาหารนั้น นอกจากจะมีไว้กินเพื่อให้อิ่มท้องแล้ว ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศนั้นๆได้อย่างง่ายดายอีกด้วยล่ะค่ะ
เค้ากินอะไร ใช้วัตถุดิบอะไรปรุง รสชาติอาหารเป็นแบบนี้เพราะอะไร ฤดูไหนทำอาหารแบบไหนรับประทาน เป็นต้น
นี่คือเรื่องราวที่เราเรียนรู้ได้ผ่านทางอาหาร เพราะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพียงแค่ใส่เข้าปาก เท่านั้น

กองทัพต้องเดินด้วยท้อง มาเที่ยว มาทัวร์ทั้งทีจะให้กินแต่อาหารตาก็คงจะได้แค่อิ่มใจไม่อิ่มท้องแน่ๆ คราวนี้เราจะมาพาทัวร์เลยพาตะลุยกิน ลิ้มลองรสอร่อยจากหลากหลายเมนูท้องถิ่นของโทโฮกุกันแบบ non stop เลยแหละ บริหารกระเพาะกันให้ดีแล้วออกไปกวาด(อาหาร)ให้เรียบกันเถอะ ! 

อิโมนิ (Imoni) จังหวัดยะมะงะตะ

เชื่อว่าหลายคนคงไม่คุ้นหูอาหารจานนี้สักเท่าไหร่ เลยขออธิบายสักนิดดีกว่าว่าเจ้าอิโมนิ เป็นซุปผักอาหารขึ้นชื่อของจังหวัดยะมะงะตะที่แขกไปใครมาก็ต้องมาลองลิ้มชิมรสเจ้านี่กันทุกราย อารมณ์ไปภาคเหนือต้องกินขันโตก ไส้อั่ว น้ำพริกหนุ่มนั่นแหละ อิโมนินิยมกินกันในช่วงฤดูใบไม้ร่วงจนเกิดเป็นวัฒนธรมการกินประจำช่วงเวลากันเลยทีเดียว โดยส่วนผสมหลักๆ ก็จะมีเนื้อสไลด์ มันฝรั่ง ต้นหอม ผักต่างๆ และคอนยักคุ หรือก็คือก้อนบบุกที่มีลักษณะคล้ายก้อนวุ้นแต่มีความเหนียวหยุ่นกว่ามาก ก่อนตบท้ายด้วยเครื่องปรุงตามความชอบแต่ละเมือง บ้างก็ใช้โชยุ บ้างก็ใส่มิโสะ แตกตางตามรสนิยมการกิน
อิโมนิเป็นอาหารประจำฤดูใบไม้ร่วง ที่แสนจะอากาศดีขนาดนี้ทั้งทีคงไม่ทานกันแบบธรรมดาๆ แน่นอน อิโมนิจึงเป็นอาหารที่มักจะถูกปรุงริมฝั่งแม่น้ำยามิงะซะกิ ในวันที่อากาศดีๆ กลุ่มคนอาจจะเป็นกลุ่มเพื่อน หรือครอบครัวก็จะนัดกันออกมาก่อกองไฟและต้มเจ้าอิโมนิทานแกล้มบรรยากาศสวยๆท่ามกลางใบไม้เปล่ยนสีอย่างสนุกสนาน เรียกได้ว่าครบสูตรอาหารตา อาหารท้อง และสนุกสนานกับความอบอุ่นของคนรอบตัวเติมเต็มเป็นอาหารใจได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
#ว่าแต่มีใครสนใจไปร่วมก่อกองไฟต้มอิโมนิแกล้มใบบีชใบเมเปิ้ลกับเรามั้ย

ซาซาคามะโบะโกะ (Sasa kamaboko) จังหวัดมิยะงิ

ชื่อยาวขนาดนี้คงไม่คุ้นหูมนุษ์ชาวไทยเราอีกแล้ว แต่ถ้าบอกว่ามันคือ คามะโบะโกะ หรือก็คือเจ้าลูกขิ้นปลาแผ่นที่เรามักจะเจอในชามราเมง (หรือแม้แต่ในร้านบาร์บีคิวพลาซ่า) น่าจะพอนึกกันออก ซึ่งเข้าซาซาคามะโบะโกะนี่ก็คือลูกชิ้นปลาของคนญี่ปุ่นที่ได้จากแป้ง เนื้อปลาสีขาวบดละเอียดปรุงรสต่างๆและนำไปนิ่งเช่นกัน แต่ที่มีชื่ยากว่าลูกชิ้นปลาอื่นๆ ก็เพราะรูปทรงที่มีลักษณะยาวรีเหมือนใบไผ่นั่นเอง และที่ต่างไปอีกอย่างคือซาซาคามะโบะโกะจะนำมาย่างด้วยเตาถ่านก่อนเสิร์ฟช่วยเพิ่มความหอมให้มากยิ่งขึ้น (เห็นแล้วทำไมนึกถึงกล้วยปิ้งล่ะเนี่ย)
#เห็นแล้วหิวขอเดินไปซื้อกล้วยปิ้งหน้าปากซอยแปปนะ

วังโกะ โซบะ (Wanko Soba) จังหวัดอิวาเตะ

วังโกะมาจากภาษาถิ่น หมายถึง ชาม วังโกะโซบะคือโซบะที่เสิร์ฟมาในชามขนาดเล็ก ทันทีที่คุณกินหมดเส้นโซบะชามใหม่ก็จะถูกเสิร์ฟเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ ว่ากันว่าสำหรับชายหนุ่มโดยทั่วไปจะสามารถกินได้ถึง 50 เป็นอย่างน้อย และในแต่ละปีก็จะมีการจัดการแข่งขันกินจุว่าใครจะสามารถทานได้มากที่สุดอยู่เป็นประจำ จะว่าไปก็แอบคล้ายๆก๋วยเตี๋ยวเรืออนุสาวรีย์บ้านเรานิดๆเหมือนกันนะโดยเฉพาะตอนที่เอาชามมาเรียวซ้อนกันเป็นทาวเวอร์ที่ยิ่งสูงขึ้นๆ ก็ยิ่งสนุก ยิ่งถ้ามีคนยุคนเยร์ด้วยนี่เรียกได้ว่ากินกันยาวไม่มียั้งเลยทีเดียว
#ใครมั่นใจในความจุความอึดของกระเพาะแล้วล่ะก็เราขอท้าให้ไปลองพิสูจน์ความเป็นจ้าวนักกินจุที่อิวะเตะ

คิริทัมโปะ (Kiritanpo) จังหวัดอะกิตะ

คิริทัมโปะคืออาหารพื้นบ้านดั้งเดิมที่เป็นที่นิยมของจังหวัดอะกิตะ ปกติชาวอะกิตะจะกินคิริทัมโปะในช่วงกลางเดือนกันยายนถึงเดือนมีนาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช่วงเดือนพฤศจิกายนที่เพิ่งได้ข้าวใหม่หลังการเก็บเกี่ยว ก็จะนำข้าวมาหุงหรือนึ่งจนสุกแล้วตำจนเนียนละเอียดก่อนจะนำมาปั้นพันไว้รอบไม้และนำไปปิ้งหรือย่างทาน ซึ่งจะทานแยกหรือจะใส่รวมกับหม้อไฟกระทะร้อนที่ใส่สารพัดพืชและเนื้อสัตว์รวมกันไว้อย่างลงตัว ยิ่งถ้าล้อมวงทานกันเยอะๆในบ้านที่มีเตาแขวนอยู่ด้วยละก็บอกเลยว่าฟินมาก ความเหนียวหนึบนิดๆ หอมกลิ่นข้าวย่างเกรียมหน่อยๆ กินกับสารพัดเครื่องจากกระทะร้อนขอบอกว่าเป็นรสอร่อยจนเอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม
#บินไปญี่ปุ่นกันสิคะจะรออะไร

—————
Mushroom Travel มีโปรแกรม ทัวร์ญี่ปุ่น ให้เลือกมากที่สุด
โทร. 02-105-6234 (30 คู่สาย)
[email protected]
Line id: @mushroomtravel