สนามบินสุวรรณภูมิ หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ในในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิเคยให้ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553
ท่าอากาศยานนานาชาติคุนหมิงฉางสุ่ย หรือ สนามบินนานาชาติคุณหมิง (Kunming Changshui International Airport) ตัวย่อสนามบิน: KMG ตั้งอยู่บริเวณทางเหนือของจีน ณ มณฑลยูนาน ประเทศจีน เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ.2501 ภายใต้โครงการพัฒนาระบบคมนาคมของประเทศ ซึ่งเป็นนโยบาลแผนพัฒนาประเทศสมัย สี จิ้นผิง ผู้นำรุ่นที่ห้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเปิดให้ใช้บริการคมนาคม ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2512
เมืองต้าหลี่ (Dali) เป็นเมืองเอกของเขตปกครองตนเองชนชาติไป๋ ต้าหลี่ มณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเขตปกครองตนเองทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ในมณฑลยูนนานตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบเอ๋อไห่กับภูเขาฉางซานที่ระดับ 1,975 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล โดยมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ร่วมกันกว่า 20 เชื้อชาติ แต่ก็ยังคงเหลือร่องรอยอารยธรรมเก่าให้พบเห็นได้บนเส้นทางจากต้าหลี่ถึงลี่เจียง
เมืองจงเตี้ยน (Zhongdian City) หรือ แชงกรี-ลา (Shagri-La) เปรียบได้กับสวรรค์บนดินที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เนื่องจากเป็นเมืองสวยงาม ผู้คนล้วนมีมิตรไมตรี มีบรรยากาศเงียบสงบแบบสวรรค์บนดิน ทำให้หลายคนปรารถนามาสัมผัสบรรยากาศอันหนาวเย็นระดับ 1–2 องศา เป็นเมืองที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของมณฑลยูนนาน ของสาธารณะรัฐประชาชนจีน และทางใต้สุดของมณฑลนี้ ก็อยู่ไม่ไกลจากประเทศไทยของเรา ปัจจุบันนี้เมืองจงเตี้ยน มีสิ่งก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเกิดขึ้นใหม่อย่างมาก มีวัดวัดต้าฝอ วัดซงจ้านหลิน ตลาดเก่าเมืองจงเตี้ยน ฯลฯ
โค้งแรกแม่น้ำแยงซีเกียง (Changjiangdiyiwan) เป็นจุดที่แม่น้ำแยงซีหรือจินซาเจียงซึ่งไหลมาจากที่ราบสูงทิเบต ตกลงมากระทบกับภูเขาไห่หลอ ทำให้ทิศทางของแม่น้ำหักโค้งไหลย้อนขึ้นไปทางเหนือ จุดนี้อยู่ห่างจากเมืองลี่เจียงประมาณ 53 กิโลเมตร เป็นเส้นทางระหว่างเมืองลี่เจียงและเมืองจงเตี้ยน
ช่องแคบเสือกระโจน (Tiger Leaping Gorge) เป็นช่องระหว่างหุบเขาเหนือแม่น้ำแยงซี ที่อยู่ระหว่างทางแยกของเมืองลี่เจียงและเมืองจงเตี้ยน อันเป็นบริเวณที่น้ำไหลผ่าน ระหว่างภูเขาหิมะมังกรหยกและภูเขาหิมะฮาป๋า อันเป็นจุดที่น้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว โดยช่วงที่แคบที่สุดนั้นมีความกว้างเพียง 30 เมตรเท่านั้น ซึ่งตามตำนานมีเรื่องเล่าขานว่า ในอดีตช่องแคบนี้เคยมีเสือกระโดดข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ เนื่องจากตรงกลางแม่น้ำในจุดนี้ มีหินที่เรียกว่าหินเสือกระโดดตั้งอยู่ และนั่นจึงเป็นที่มาของชื่อช่องแคบนี้นั่นเอง
เมืองโบราณแชงกรีล่า (Shangri La) หรือเดิมมีชื่อว่า เมืองจงเตี้ยน เทศมณฑลในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติทิเบต ตี๋ชิ่ง ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน มีชนชาติส่วนน้อย 25 ชนชาติ เมืองโบราณแชงกรีล่าเป็นชุมชนเก่าของชาวทิเบต ชาวบ้านเรียกเกลทัง รายล้อมไปด้วยร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านของที่ระลึกและเกสต์เฮาส์ ถนนดินกลายเป็นถนนปูด้วยหินกรวด ตอนเย็นจะมีการแสดงพื้นบ้านของชาวทิเบตที่จัตุรัสใหญ่
วัดซงจ้านหลินซื่อ (Songzanlin Monastery) เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบทิเบต ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาฝอปิง ห่างจากเมืองจงเตี้ยนไปทางเหนือ 4 กิโลเมตร สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1679 เป็นวัดลามะที่มีอายุเก่าแก่กว่า 300 ปี มีพระลามะจำพรรษาอยู่กว่า 700 รูป สร้างขึ้นโดยดะไลลามะองค์ที่ 5 ซึ่งใกล้เคียงกับสมัยอยุธยาตอนต้น ในช่วงศตวรรษที่ 18 สมัยจักรพรรดิ์คังซีแห่งราชวงศ์ชิงได้มีการซ่อมแซมต่อเติมอีกหลายครั้ง โครงสร้างของวัดแห่งนี้สร้างตามแบบพระราชวังโปตาลา ในเมืองลาซา (ทิเบต) มีรูปปั้นทองสัมฤทธิ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด
เมืองลี่เจียง (Lijiang City) ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาอวี้หลง รอยต่อที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตกับที่ราบสูงยูนนาน-กุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงเหนือ เชื่อมกับที่ราบริมฝั่งแม่น้ำจินซาเจียง นั่นจึงทำให้ที่นี่มีภูมิประเทศที่หลากหลาย ตั้งแต่ภูเขาสูง ธารน้ำแข็ง ที่ราบระหว่างภูเขา หุบโตรกผาอันสูงชัน และที่ราบขั้นบันได นอกจากนั้นลี่เจียงยังเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยแบ่งออกเป็นสองเขตและมีเขาสิงโตเป็นเส้นแบ่งเขต นั่นก็คือเขตเมืองใหม่ลี่เจียง และเขตเมืองเก่าลี่เจียง
สระมังกรดำ (Black Dragon Pool) สระน้ำมังกรดำหรือเฮยหลงถัน ตั้งอยู่ภายในสวนสาธารณะยู้วฉวน เมืองลี่เจียง โดยอยู่ห่างจากตัวเมืองเก่าลี่เจียงไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร ในบริเวณเชิงเขาเซี่ยงซาน สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1737 ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งสระน้ำมังกรดำมีจุดเด่นคือ เป็นน้ำที่เกิดจากน้ำพุอันมีความใสจนมองเห็นพืชใต้น้ำสีเขียว ที่สะท้อนกับผืนน้ำราวกับสีของมรกต นอกจากนี้ภายในบริเวณยังสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่ผสมผสานวัฒนธรรมของชาวฮั่น ทิเบตและนาซี ไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ทั้งสะพานหินโค้ง
เมืองโบราณลี่เจียง ตั้งอยู่ในอำเภอปกครองตนเองของชนชาติน่าซีแห่งลี่เจียง ในมณฑลยูนนานทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เป็นเมืองที่เริ่มสร้างตั้งแต่ปลายราชวงศ์ซ่งและต้นราชวงศ์หยวน เมืองนี้อยู่บนที่ราบสูงยูนนานและกุ้ยโจวที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเกิน 2,400 เมตร เป็นตลาดและเมืองสำคัญที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันมีชาวเมืองกว่า 25,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวน่าซี มีชาวเมืองร้อยละ 30 ยังคงประกอบอาชีพผลิตเครื่องศิลปหัตถกรรม ที่มีมาแต่ดั้งเดิมและการค้า
ภูเขาหิมะมังกรหยก (Jade Dragon Snow Mountain) เป็นเทือกเขาที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองลี่เจียง มณฑลยูนนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวสุดสวยและมีชื่อเสียงของประเทศจีน มีลักษณะเป็นภูเขาสูงใหญ่ที่มีหิมะปกคลุมตรงปลายยอดตลอดทั้งปี จนได้ชื่อว่าเป็น "สวิตเซอร์แลนด์แห่งเมืองจีน"
การแสดง (Impressions Lijiang Show) ซึ่งเป็นหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาถึงลี่เจียง นอกจากชมเมืองเก่า เที่ยวภูเขาหิมะ ก็คือการชมโชว์สุดอลังนี่หล่ะ ถือเป็นโชว์แบบโอเพ่นแอร์ที่สเกลใหญ่ที่สุดในจีน บอกเลยว่ายิ่งใหญ่ กับฉากผาหินสีแดง มีแบล็คกราวด์ฉากเป็นภูเขาหิมะมังกรหยก โดยการแสดงจะร้องเพลง เต้น และแสดงเกี่ยวกับวัฒนธรรมตามคัมภีร์ตงปาของคนพื้นเมืองลี่เจียงที่นี่
ทะเลสาบไป่สุ่ยเหอ หรือ Baishui He Lake (มาจากภาษาจีน 白水河) อยู่ในลี่เจียง ตั้งอยู่ทางตะวันออกของภูเขาหิมะมังกรหยก และ ทะเลสาบเกิดจากน้ำหิมะของภูเขา เป็นสาขาของแม่น้ำจินซา (Jinsha) ทะเลสาบจะมีสีขาวเทาเนื่องจากประกอบด้วยหินปูนที่ทับถมของตะกอนเมื่อน้ำละลายไหลผ่านแม่น้ำจึงเป็นที่มาของชื่อ “ทะเลสาบขาว” น้ำสะอาด และป่าเขียวชอุ่มเป็นดง ทัศนียภาพสวยงาม
เมืองคุนหมิง เป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนนาน ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีฐานะเป็นศูนย์กลางทางการติดต่อระหว่างจีนกับเอเชียอาคเนย์ พรมแดนติดกับพม่า ลาว และเวียดนาม ทำให้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น ป่าหิน ทะเลสาบเตียนฉือ ประตูมังกร เป็นอีกเมืองที่คนไทยนิยมมาเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากใกล้กับประเทศไทยและค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนั่นเอง
วัดหยวนทง (Yuantong Temple) เป็นวัดศาสนาพุทธที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของคุนหมิง และเป็นวัดหลวงเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง มีประวัติยาวนานกว่า 1,200ปี เป็นวัดของนิกายมหายาน สร้างขึ้นในราชวงศ์หยวน ภายในวัดสร้างอยู่บริเวณตีนเขา ซึ่งแตกต่างไปจากวัดทั่วไปของจีนที่มักสร้างไว้ในที่สูง เช่น บนยอดเขาหรือเนินเขา มีอาคารต่างๆ,โบถส์ไทยอันเป็นที่ประดิษฐานของเจ้าแม่กวนอิมและพระพุทธชินราชจำลองจากประเทศไทย ที่ท่านนายกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้อันเชิญมาจากจังหวัดพิษณุโลก เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีระหว่างไทย – จีน
สวนน้ำตกคุนหมิง (Kunming Waterfall Park หรือ Niulan River Waterfall Park) ตั้งอยู่ทางเหนือของเมืองคุนหมิง ประเทศจีน เป็นสวนสาธารณะใจกลางเมืองคุนหมิง ภายในประกอบไปด้วยน้ำตกและทะเลสาบอีก 2 แห่ง ที่สร้างขึ้นด้วยฝีมือมนุษย์ ไฮไลท์ของสวนอย่างน้ำตกใหญ่ยักษ์ ถือเป็นน้ำตกฝีมือมนุษย์ที่ยาวเป็นอันดับของเอเชียเลยทีเดียว ข้างล่างของน้ำตกเป็นทะเลสาบที่มีทางเดินพาดอยู่ สามารถเดินชมวิวสวยๆ ได้ นอกจากนี้รอบๆ ทะเลสาบยังมีทางเดินให้เดินเล่นเที่ยวชิลๆ อีกด้วย
เมืองโบราณกวนตู้ (Guandu Old Town) ตั้งอยู่เมืองคุณหมิง ประเทศจีน เมืองบรรยากาศแบบโบราณที่ตั้งใจสร้างขึ้นมา เพื่อสะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนในคุนหมิงสมัยก่อน มีหลากหลายชาติพันธุ์แต่อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน โดยอนุรักษ์สถาปัตยกรรมของร้านค้าแบบจีน และส่วนบริเวณด้านหลังของเมืองโบราณกวนตู้นั้น ก็ยังเป็นที่ตั้งของวัดลามะ หรือวัดธิเบตอีกด้วย
ท่าอากาศยานนานาชาติคุนหมิงฉางสุ่ย หรือ สนามบินนานาชาติคุณหมิง (Kunming Changshui International Airport) ตัวย่อสนามบิน: KMG ตั้งอยู่บริเวณทางเหนือของจีน ณ มณฑลยูนาน ประเทศจีน เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ.2501 ภายใต้โครงการพัฒนาระบบคมนาคมของประเทศ ซึ่งเป็นนโยบาลแผนพัฒนาประเทศสมัย สี จิ้นผิง ผู้นำรุ่นที่ห้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเปิดให้ใช้บริการคมนาคม ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2512
สนามบินสุวรรณภูมิ หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ในในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิเคยให้ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553