สนามบินสุวรรณภูมิ หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ในในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิเคยให้ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553
เมืองหงสาวดี (Hansawadee City) หรือปัจจุบันในชื่อ พะโค (Bago) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศพม่า ซึ่งในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของชาวมอญมาก่อน คนไทยเราส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับชื่อ เมืองหงสาวดี ที่อุดมไปด้วยประวัติศาสตร์ และศิลปะวัฒนธรรมกลับกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวสายบุญ
พระเจดีย์ชเวมอดอร์ หรือ พระธาตุมุเตา เป็นพระมหาธาตุเจดีย์สำคัญที่อยู่ในเมืองพะโค (หงสาวดี)เป็นเจดีย์โบราณที่ก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยมอญเรืองอำนาจ และยังเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยเดียวกันกับพระเจดีย์ชเวดากอง มีการบูรณะและต่อเติมอีกหลายครั้ง ภายในเจดีย์บรรจุพระเขี้ยวแก้วไว้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าราชาธิราช และต่อมาในสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์ได้โปรดให้มีการหล่อระฆังจารึกไว้ที่ฐานพระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอ เป็นเจดีย์ที่มีความสูงที่สุดในพม่า เชิญนมัสการยอดเจดีย์หัก ว่ากันว่าเป็นจุดที่ศักดิ์สิทธิ์มาก
พระราชวังบุเรงนอง เคยเป็นพระราชวังของพระเจ้าบุเรงนองกะยอดินนรธาหรือผู้ชนะสิบทิศ เพิ่งเริ่มขุดค้นและบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ จากซากปรักหักพังที่หลงเหลืออยู่ซึ่งยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ก็มองเห็นได้ถึงความกว้างขวางใหญ่โตของพระราชวังแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นตำหนักที่บรรทม ท้องพระโรงที่ออกว่าราชการ ว่าเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งถูกจับมาเป็นตัวประกันเมื่อยังทรงพระเยาว์ ปัจจุบันรัฐบาลพม่าเพิ่งขุดค้นพบซากของพระราชวังแห่งนี้ และจะเปิดให้ชมเฉพาะคณะของบุคคลสำคัญเท่านั้น
เจดีย์ไจ้ทีโย หรือ พระธาตุอินทร์แขวน หรือ ก้อนหินทอง (Kyaiktiyo Pagoda) ซึ่งถือเป็นหนึ่งสิ่งสักการะสูงสุดของชาวพม่า เป็นเจดีย์ขนาดเล็กสูง 5.5 เมตร ตั้งอยู่บนก้อนศิลาใหญ่ปิดทองที่วางหมิ่นเหม่อยู่บนหน้าผา แต่ชาวพม่ามักยืนกรานว่าไม่มีทางตก เพราะพระเกศาธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอยู่ภายในพระเจดีย์องค์ ย่อมทำให้หินก้อนนี้ทรงตัวอยู่ได้อย่างสมดุลเรื่อยไป ตามคติการบูชาพระธาตุประจำปีเกิดของชาวล้านนา พระธาตุอินทร์แขวนนี้ให้ถือเป็นพระธาตุปีเกิด ของปีจอแทนพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์
เมืองหงสาวดี (Hansawadee City) หรือปัจจุบันในชื่อ พะโค (Bago) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศพม่า ซึ่งในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของชาวมอญมาก่อน คนไทยเราส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับชื่อ เมืองหงสาวดี ที่อุดมไปด้วยประวัติศาสตร์ และศิลปะวัฒนธรรมกลับกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวสายบุญ
เชิญร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ณ วัดไจ้คะวาย เมืองหงสาวดี มีพระสงฆ์กว่า 1,000 รูป เป็นโรงเรียนสอนพระพุทธศาสนา นักธรรมชั้นตรี โท และ เอก เพื่อศึกษาพระไตรปิฎกเป็นจำนวนมาก โดยสามารถนำสมุด ปากกา ดินสอ และเครื่องเขียน ไปบริจาคที่วัดแห่งนี้สำหรับการศึกษาของ ภิกษุ สามเณร เชิญสักการะ พระเจดีย์ชเวมอดอว์หรือพระธาตุมุเตา ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในหงสาวดี สัญลักษณ์ ยืนยันความเจริญรุ่งเรืองของกรุงหงสาวดี ภายในบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า
พระพุทธไสยาสน์ชเวตาเลียว หรือ พระนอนชเวตาลยอง สร้างโดยพระเจ้าเมงกะติปะ กษัตริย์มอญ เมื่อ พ.ศ.1537 หรือในสมัยอาณาจักรสุธรรมวดี ปัจจุบันพระนอนองค์นี้มีอายุ 1,018 ปี ยาว 55 เมตร ซึ่งเป็นพระนอนไสยาสน์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากพระนอนในเมืองย่างกุ้งที่มีชื่อว่าพระนอนตาหวาน ที่มีความยาว 70 เมตร เดิมพระนอนชเวตาเลียวถูกทิ้งร้างมาเป็นเวลานาน และได้มีการค้นพบเมื่อครั้งที่อังกฤษเดินทางมาสำรวจเส้นทางรถไฟในพม่าเมื่อราว 100 ปีก่อน จากนั้นจึงได้บูรณะจนใหญ่โตสวยงาม
เจดีย์โบตาทาวน์ (Botahtaung Pagoda) แห่งเมืองย่างกุ้ง สร้างโดยทหารพันนายเพื่อบรรจุพระบรมธาตุ ที่พระสงฆ์อินเดีย 8 รูป นำมาเมื่อ 2,000 ปีก่อน ในปี พ.ศ. 2486 เจดีย์แห่งนี้ถูกระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ากลางองค์ จึงพบโกศทองคำบรรจุพระเกศาธาตุและพระบรมธาตุอีก 2 องค์ และยังพบพระพุทธรูปทอง เงิน สำริด 700 องค์ จารึกดินเผาภาษาบาลีและตัวหนังสือพราหมณ์อินเดียทางใต้ ต้นแบบภาษาพม่า ภายในเจดีย์ประดับด้วยกระเบื้องสีสันงดงาม และมีมุมสำหรับฝึกสมาธิหลายจุดในองค์พระเจดีย์
พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง คือ 1 ใน 5 มหาบูชาสถานที่พุทธศาสนิกชนในพม่าให้ความนับถือ ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระทางทิศเหนือของย่างกุ้ง เป็นเจดีย์เก่าแก่ที่สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 6-10 นอกจากนี้ชาวพม่ายังมีความเชื่อว่าภายในเจดีย์แห่งนี้เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้ารวม 8 เส้นด้วยกัน ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 2,000 ปีที่ผ่านมา เจดีย์ชเวดากองได้ถูกทำให้เสียหายด้วยเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งจากสงคราม และภัยธรรมชาติ เป็นต้น แต่ทว่าตัวเจดีย์ก็ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์อยู่เรื่อยมา
เจดีย์เยเลพญา (Kyauktan Yele Paya) เจดีย์นี้สร้างขึ้นบนเกาะกลางน้ำ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เจดีย์กลางน้ำ” เป็นที่สักการะของชาวสิเรียม ที่บริเวณท่าเทียบเรือบนเกาะ สามารถซื้ออาหารเลี้ยงปลาดุกตัวขนาดใหญ่นับร้อยๆ ตัวที่ว่ายวนเวียนให้เห็นครีบหลังที่โผล่เหนือผิวน้ำ พร้อมนมัสการพระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิเก่าแก่ ที่ประดิษฐานบนบัลลังก์ไม้แกะสลักปิดทองคำเปลว ที่งดงามมีอายุนับพันปี ซึ่งเป็นที่สักการบูชาของชาวพม่าและชาวต่างชาติ
เจดีย์ไจ๊เข้าเป็นเจดีย์มอญประจำเมือง Thanlyin ภายในบรรจุพระเกศาธาตุที่ได้รับมาจากพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เจดีย์แห่งนี้ มี เทพทันใจ ซึ่งถือเป็นหัวหน้าของเทพทันใจในเมืองย่างกุ้ง หากที่ไหนจะมีการสร้างเทพทันใจ จะต้องมาขออนุญาตจากเทพทันใจองค์นี้ก่อน ชาวพม่าให้ความเคารพและเชื่อถือเทพทันใจองค์นี้เป็นอย่างมาก หากท่านใดต้องการขอพรเกี่ยวกับเรื่อง การงาน การเงิน ให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจ การเจรจาต่างๆ ร่ำรวยเงินทอง ให้มาขอที่เทพทันใจองค์นี้
พระเจดีย์กะบาเอ ตั้งอยู่ที่ถนนกาบาเอ ห่างจากตัวเมืองย่างกุ้งไปทางเหนือราว 11 กิโลเมตร เป็นเจดีย์ที่เพิ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2495 เพื่อเป็นการรำลึกแด่การประชุมประภาสสงฆ์ระดับโลก ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ระหว่างปี 2497 - 2499 โดยตัวเจดีย์แห่งนี้มีความสูงถึง 34 เมตร นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงกันยังเป็นที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยวอีกสองแห่ง ได้แก่ Buddhist Art Museum และ Maha Pasana Cave อีกด้วย
เจดีย์ไจ๊กะส่าน (Kyaik Ka San Pagoda) เจดีย์เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของเมืองย่างกุ้ง เจดีย์องค์นี้สร้างมาแล้ว 2 พันกว่าปี โดยกษัตริย์ชาวอินเดีย ซึ่งเป็นกษัตริย์ในยุคเดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราช ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้าและพระธาตุส่วนอื่น ๆ 32 องค์ ตามตำนาน ในสมัยที่เมืองย่างกุ้งได้กลายเป็นเมืองร้าง มียักษ์สองพี่น้อง ชื่อ “นองดอ องค์พี่ และ “นยีดอ” องค์น้อง ทำหน้าที่คุ้มครองรักษาองค์พระเกศาธาตุและพระธาตุที่บรรจุไว้ ณ เจดีย์ไจ๊กะส่านแห่งนี้ไว้จนถึงปัจจุบัน
สนามบินสุวรรณภูมิ หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ในในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิเคยให้ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553